โปรแกรมการจัดหาแหล่งอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ/ อาหารที่มีแนวทางการผลิตอย่างยั่งยืนให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง : A body provide sustainable food choices for all on campus, including vegetarian and vegan food

admin   ตุลาคม 25, 2022   ปิดความเห็น บน โปรแกรมการจัดหาแหล่งอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ/ อาหารที่มีแนวทางการผลิตอย่างยั่งยืนให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง : A body provide sustainable food choices for all on campus, including vegetarian and vegan food

ตลาดนัด KU Green Market Place (ตลาดนัดสีเขียว)


เทศกาลอาหารเจ (สำนักงานบริหารทรัพย์สิน)

สำนักงานทรัพย์สินดำเนินการจัดเทศกาลอาหารเจ (โครงการอิ่มบุญ อิ่มใจ อิ่มท้องกับเทศกาลอาหารเจ) มาอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2559 จวบจนปัจจุบัน พ.ศ.2565  จัดขึ้นในวันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคม 2565 (รวม 9 วัน) เปิดให้บริการเวลา 07.00 – 18.00 น.  ณ บริเวณโรงอาหารกลาง  1 และ 2 เพื่อเป็นแหล่งอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพให้แก่นิสิต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้รับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์และส่วนประกอบที่มาจากสัตว์ทุกชนิด  งดการปรุงอาหารด้วยผักที่มีกลิ่นฉุน อาทิเช่น กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย เป็นต้น อีกทั้งได้ประโยชน์ด้านสุขภาพ สามารถปรับร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ขับสารพิษ ของเสียต่างๆออกจากร่างกาย ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ เกิดความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนได้รับปริมาณอาหารทีเพียงพอและมีคุณภาพ ได้รับโภชนาการที่เหมาะสม มีสุขภาพที่ดี สามารถเข้าถึงอาหารได้ตรงกับความต้องการ รวมทั้งได้รับพลังใจจากการปฏิบัติตัวอยู่ในศีล ส่งผลให้จิตใจอิ่มเอิบ เบาสบาย


เทศกาลอาหารเจ (ห้องอาหารสหโภชน์สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

โดยจำหน่ายอาหารเจเป็นประจำทุกปี จำหน่ายอาหารในราคา 20 – 50 บาท มีทั้งอาหารเจหลากหลายเมนู ขนมจีนน้ำพริกผัดพริกขิงโปรตีนเกษตร ยำเต้าหู้ทอดกรอบ ยากิโซบะ แกงส้มผักรวม ของทอดร้อน ๆ กรอบ ๆ  อร่อย ซาลาเปาไส้โปรตีนเกษตร ไส้ถั่วดำ ไส้เผือก นมถั่วเหลือง และอื่น ๆ อีกเพียบ อย่าลืมแวะมาอุดหนุนกัน เปิดขายกันตั้งแต่ 07.30  – 13.30 น.


สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน

เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีภาระกิจด้านบริการวิชาการแบบให้เปล่า โดยมุ่งเน้นด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพและการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และกําลังการผลิตของเกษตรกร ที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีกิจกรรมในด้านมุ้งเน้นการช่วยผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ช่วยเกษตรกร เกษตรกรช่วยผู้บริโภค (KU USR)

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินกิจกรรมต้นแบบที่ผสมผสานระหว่างจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายร่วมกันของกลุ่มอาชีพ สถาบันเกษตร ครูอาชีพ และประชาชนทั่วไป ไม่เพียงช่วยเหลือเกษตรกร ในด้านการสร้างรายได้ยังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรมจากผู้ผลิต เป็นช่องทางในการฝึกทักษะและให้องค์ความรู้นวัตกรรมและคำปรึกษาในการพัฒนาสินค้าเกษตร การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ปี 2563-2566 จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาถึงครั้งที่ 122 ผลจากการจัดกิจกรรม เดือนมกราคม 2565 – เดือนกันยายน 2565 มีการดำเนินงานมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 74 ครั้ง มีรายรับจากการดำเนินกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 3,534,201 บาท มีผู้รับบริการรวมทั้งสิ้น 11,017 คน มีเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 16 ราย ซึ่งกระจายในพื้นที่กว่า 10 ชุมชน นอกจากนี้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวสามารถขยายช่องทางการตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งการเข้าร่วมจำหน่ายสินค้าในโอกาสต่างๆ เช่น กิจกรรมการจำหน่ายสินค้าของเรือนเกษตรอภิรมย์ คณะเกษตร กำแพงแสน การทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทเอกชนต่างๆ ทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีรายการสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งกลุ่มตลาดทั่วไป และกลุ่ม Modern Trade เป็นต้น

ผลลัพธ์ด้านชุมชน และสังคม เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้งในระดับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับจำหน่ายในโอกาสต่อไป อาทิ การนำผลผลิตกล้วยน้ำว้าจากชุมชนบ้านหนองไม้งาม ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยหนึบของกลุ่ม YSF การนำผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรจากอำเภอห้วยกระเจา นอกจากนี้ยังเกิดการแลกเปลี่ยนวิธีการผลิต/การทำการเกษตรระหว่างกลุ่ม อาทิ การนำผักกูกจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนปันสุข ต.ห้วยขวาง มาขยายปลูกให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองไม้งาม ต.ทุ่งบัว เป็นต้น ส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาการด้านการผลิตที่ตอบโจทย์อาหารปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผลิตของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตทั้งในระบบ GAP และระบบ อินทรีย์ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขตั้งแต่แรกของการเข้าร่วมกิจกรรมนี้

ผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชนในพื้นที่ดำเนินการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพื้นที่ใกล้เคียง ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพื้นที่ไข่แดง และไข่ขาว กว่า 20 ชุมชน เช่น ชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งบัว ตำบลห้วยขวาง ตำบลห้วยม่วง ตำบลหนองงูเหลือม พื้นที่ชุมชนในเขตอำเภอนครชัยศรี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ขยายในการพัฒนาด้านการส่งเสริมการเกษตร เช่น กลุ่ม Start Up จากอำเภอสองพี่น้อง หรือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอห้วยกระเจา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยเข้าร่วมจำหน่ายในกิจกรรมดังกล่าว เช่น ผลผลิตพืชผักปลอดภัยจากกลุ่มเกษตรกรตำบลทุ่งบัว ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวอินทรีย์เช่น น้ำมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวนมสด จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนปันสุข ตำบลห้วยขวาง ผลผลิตมันเทศญี่ปุ่น เมล่อน จากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้นนอกจากนี้ช่องทางการจำหน่ายยังขยายไปสู่ผู้บริโภคภายนอกที่ทราบข้อมูลของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรจากกิจกรรมต่างๆ ที่กลุ่มเข้าร่วม เช่น งานแถลงข่าวงานเกษตรกำแพงแสน การออกร้านจำหน่ายสินค้าในโอกาสต่างๆ ส่งผลให้เกิดการทำสัญญาซื้อขายสินค้าเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีคำสั่งซื้อมันเทศญี่ปุ่นเฉลี่ยเดือนละ 7-10 ตัน ซึ่งหากสินค้าเกรดดี จะวางจำหน่ายที่ห้างแมรโคร Big-C และโลตัส แต่หากเป็นเกรดรองลงมาจะส่งจำหน่ายที่ตลาดไท เป็นต้น

ผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรปลอดภัยที่มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการผลิตตามระบบ GAP อยู่ก่อนแล้วและเริ่มให้ความสนใจเรื่องการลดใช้สารเคมีในแปลงผลิตของตนเอง เนื่องจากส่วนใหญ่นั้นเริ่มมีอายุมากขึ้น ประกอบกับต้นทุนด้านการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นดังนั้นจึงมีการนำองค์ความรู้เรื่องการใช้เชื้อไตรโครเดอร์มาในแปลงปลูกพืชหลังน้ำท่วมไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับความเดือนร้อน เช่นเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นต้น นอกจากนี้บางส่วนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีการลงพื้นที่แปลงของเกษตรกรเพื่อเก็บข้อมูลการผลิตตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิด เพื่อนำมาหาแนวทางการแก้ไขร่วมกันอีกครั้ง

                             ข้อมูลโดย www.eto.kps.ku.ac.th

 

 

แสดงความคิดเห็นที่นี่

comments