ลดปริมาณขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัยกับโครงการ Waste Management

admin   ตุลาคม 25, 2022   ปิดความเห็น บน ลดปริมาณขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัยกับโครงการ Waste Management

จากนโยบายของภาครัฐมีการประกาศให้ งดแจกถุงพลาสติกในวันที่ 1 มกราคม 2563 หลังจากประเทศไทยมีขยะทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยเป็นขยะจากพลาสติกมากถึง 12 ล้านตัน มาจากกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธีตั้งแต่ต้นทาง ส่งผลให้มีการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ ดิน รวมถึงอากาศได้ ด้วยนโยบายเชิงรุกของมหาวิทยาลัยจะจึงเกิดโครงการ Waste Management โดยมีเป้าหมายในการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมทั้ง นิสิต บุคลากร ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป ให้สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี และตระหนักถึงปัญหาขยะที่เกิดจากพลาสติก และขยะอื่นๆ จวบจนปัจจุบันพ.ศ.2567 โดยมีกรอบแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะพลาสติก 4 ประการ ดังนี้

 

โดยมีกิจกรรมเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการลดปริมาณขยะดังนี้

  • ด้านผู้ประกอบการร้านค้า
  • ด้านผู้เข้าใช้บริการ

ผู้ประกอบการร้านค้ามีการปรับตัวโดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบใบรายการจดเมนู จากเดิมเป็นกระดาษใช้แล้วทิ้ง เป็น กระดาษจดเมนูแบบเคลือบสามารถลบได้

โดยในปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ดังนี้

ในปีพ.ศ.2565 จัดประชุมผู้ประกอบการร้านค้าภายใต้การดูแลของสำนักงานบริหารทรัพย์สิน โดยบุคลากรให้ความรู้ด้านการกำจัดขยะจากพลาสติกและการจัดส่งพลาสติกไปกำจัด ณ จุดรับกำจัดขยะจากพลาสติก ต่อยอดแนวคิดพร้อมปรับปรุงการจัดการขยะให้เกิดประสิทธิภาพ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2565  พบว่านอกเหนือจากขยะที่เกิดจากพลาสติกแล้วนั้น ขยะกำพร้า (ขยะที่จำหน่ายไม่ได้ และไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้) เช่น ฟอลย์ทุกชนิด ซองขนม ชุดตรวจ ATK หน้ากากอนามัย ซองกันชื้น ฯลฯ ถูกทิ้งไปอย่างไม่มีประโยชน์ สำนักงานทรัพย์สินร่วมมือกับบริษัท เอ็น 15 เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจบริหารจัดการของเสีย และวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและไม่เป็นอันตราย รับขยะกำพร้าไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF  ส่งเป็นพลังงานทดแทนถ่านหินในการผลิตปูนซีเมนต์ รับขยะกำพร้า ณ บริเวณโรงอาหารกลาง 2

จวบจนปัจจุบันปีพ.ศ.2567 สำนักงานบริหารทรัพย์สินยังคงรักษาความร่วมมือกับ บริษัท เอ็น 15 เทคโนโลยี จำกัด ในการดำเนินงานโครงการรับขยะกำพร้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนและลดปัญหาขยะ โดยมุ่งมั่นในการจัดการขยะกำพร้า

นอกจากนี้หน่วยงานยังได้มีการร่วมมือในการคัดแยกฝาขวดน้ำดื่ม เพื่อนำไปส่งมอบให้กับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าอย่าง E-co Board” ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากฝาขวดน้ำดื่มที่ผ่านกระบวนการคัดแยกและรีไซเคิลแล้ว โดยมีเป้าหมายในการนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ในการผลิตแผ่นบอร์ดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน การริเริ่มโครงการดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากฝาขวดน้ำดื่มที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต

 

แสดงความคิดเห็นที่นี่

comments