ธนาคารอาหารเพื่อบุคลากรและนิสิต

admin   ตุลาคม 27, 2022   ปิดความเห็น บน ธนาคารอาหารเพื่อบุคลากรและนิสิต

 

สินค้าเกษตรคุณภาพสูง ณ The Premium @ KU   

 

วันที่ 28 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวร้านค้า The Premium @ KU ภายใต้ นโยบายเชิงรุก KUniverse ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวม จำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพสูง และผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรจากการค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม ของนิสิต นักวิจัยและคณาจารย์จากคณะวิชา สถาบัน และศูนย์วิจัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร เชื่อมโยงทั้งภาครัฐและเอกชนสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสนับสนุนผลผลิตและสินค้าเกษตรจากเกษตรกรเพื่อการวิจัยและพัฒนา พร้อมเป็นการส่งมอบคุณค่าสินค้าและบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้ว่าจะได้รับสินค้าคุณภาพดี และมีทางเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพให้แก่นิสิต บุคลากร ประชาคมมก. ประชาชนทั่วไป และผู้สนใจรักสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนิสิตในการทดลอง ฝึกฝนวิชาชีพนอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม

Tech to Design Showcase 2022″ นำเสนอผลงาน Sketch Design ผลิตภัณฑ์สำหรับ The Premium @ KU โดยนิสิตหลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเสวนาเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัยด้วยการออกแบบ

การสาธิตการทำ ไข่เค็มดินสอพอง ไข่เยี่ยวม้าสีทอง ยำกุนเชียงกับขนมจีบไส้กุนเชียง ไก่อบพริกไทยดำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนยถั่วจาก  ด้วยผลผลิตผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยและพัฒนาของคณะเกษตร จำหน่าย ณ The Premium @ KU

พร้อมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคน พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการอย่างมีมาตรฐาน สู่การเรียนรู้ในระดับชาติและระดับโลกอีกทั้งยังนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่เทคโนโลยี XR หรือ Extended Reality ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่รวมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality-VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality–AR) และ มิกซ์เรียลริตี้ (Mixed Reality–MR) ให้ผู้เข้าชมสามารถสั่งซื้อสินค้าเกษตรในรูปแบบออนไลน์ และเยี่ยมชมร้านค้าแบบเสมือนจริงได้

****************************************************************************

สนับสนุนนมเกษตรฟรีไปกับโครงการ “Friday KU Milk Day”

          สนับสนุนนมเกษตรแก่นิสิต บุคลากร ผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) กับโครงการ Friday KU Milk Day เมื่อโรคระบาดได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เชื่อมโยงหลายกรณีในกลุ่มคลัสเตอร์ ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงกับนิสิต บุคลากร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด มหาวิทยาลัยได้ประกาศให้คณะ ดำเนินการเรียนการสอนในรูปแบบ On –line พร้อมบุคลากรปฏิบัติงานจากที่พักของตนเอง (Work Form Home) เป็นหลัก และโรงเรียนต้องหยุดทำการเรียนการสอนก่อนกำหนดตามมาตรการของรัฐ ส่งผลกระทบต่อนมเกษตรกับปัญหานมล้นเกิน เนื่องจากโรงนมยังคงรับน้ำนมดิบอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมอบหลักการและนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนแก่ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจัดโครงการ Friday KU Milk Day ขึ้นเพื่อรณรงค์ให้นิสิต บุคลากร ประชาคมมก. ได้ดื่มนมดีมีคุณภาพฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนอาหาร และสุขภาพที่ดีต่อสู้กับโรคภัย โดยสนับสนุนนมเกษตรกว่า 5,000 ถุงต่อสัปดาห์ในทุกวันศุกร์ ให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยในภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค นิสิตหอพักภายในมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนได้ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าที่ยังคงเปิดบริการจำหน่ายอาหารให้แก่นิสิต บุคลากร และประชาคมมก. โดยสนับสนุนนมเกษตรทั้งสิ้น 290,987 ถุง

****************************************************************************

สนับสนุนไอศกรีม Soft Serve ฟรีแก่นิสิต นักเรียนโรงเรียนสาธิต

ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนไอศกรีม Soft Serve จากนมเกษตร  แก่นิสิต และนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฟรี จำนวน 200 คนต่อวัน ณ The premium @KU เมื่อวันที่ 6 – 17 มิถุนายน 2565 , 27 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2565 สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับนิสิต และนักเรียนให้สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์นมเกษตรที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างเท่าเทียมจากการผลิตอย่างยั่งยืน

****************************************************************************

การป้องกันภาวะการณ์ขาดแคลนอาหารช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

โครงการ KU พารอด ร่วมด้วยช่วยกัน….ต้องพากันรอด

ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพิ่มขึ้นสูงกว่า 10,000 คนต่อวัน สถานประกอบการบางส่วนต้องปิดให้บริการตามมาตรการของรัฐ ผู้ป่วยและผู้กักตัวในรูปแบบ Home isolation  และ Community isolation ค่อนข้างมาก ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธาณสุขและแหล่งอาหารที่เพียงพอในช่วงภาวะขาดแคลนได้ จึงเกิดโครงการ “KU พารอด ร่วมด้วยช่วยกันต้องพากันรอด” โดยเริ่มเมื่อ  9 สิงหาคม – 6 กันยายน 2564 สอดรับกับโครงการอว.พารอด นำโดยรองอธิบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชด ชมภูนิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สิน นางปิยฉัตร ช่างเหล็กและทีมงานงานบริหารจัดการ สำนักงานทรัพย์สิน ช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนแก่ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย 22 ชุมชน 4 สถานสงเคราะห์ กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ภายในมหาวิทยาลัย และกลุ่มแท็กซี่บริเวณประตูงามวงศ์วาน 1  มูลค่าการสนับสนุนช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 92,600 บาท

****************************************************************************

กินกุ้งไทย สู้ภัยโควิด – 19

          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดพื้นที่ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะการณ์สินค้าราคาตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ภัยพิบัติ รวมถึงโรคระบาดได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นิสิต บุคลากร ประชาคม มก. ได้บริโภคผลผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาย้อนหลังได้ โดยในปีพ.ศ.2564 ซึ่งในขณะนั้นการแพร่ระบาดลุกลามไปยังตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยและเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จัดเทศกาล “กินกุ้งไทย สู้ภัยโควิด – 19” โดยมีเกษตรกรที่ได้รับรองผลผลิต การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม Good Agriculture Practices : GAP ที่ได้มาตรฐานที่กำหนดจำนวน 4 กลุ่มเข้าร่วมจำหน่ายสินค้า ณ บริเวณโรงอาหารกลาง 2 ได้แก่กลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม และฉะเชิงเทรา จำหน่ายกุ้ง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งก้ามกราม ในวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2563 จำหน่ายกุ้งได้จำนวน 8,960 กิโลกรัม นิสิต บุคลากร และประชาคมมก.ให้ความสนใจและซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์ จำหน่ายผลผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพจากงานวิจัย – พัฒนาให้แก่ประชาคมมก. ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่คุณภาพจากฟาร์มหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ผัก – ผลไม้ออแกนิค ปลอดสารพิษจากมูลนิธิโครงการหลวง ข้าวโพดฝัก – น้ำนมข้าวโพดจากศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร เป็นต้น

 

****************************************************************************

แสดงความคิดเห็นที่นี่

comments